นมัสเตค่ะ หลังจากที่เขียนบทความแชร์ประสบการณ์ไปแล้ว 2 หัวข้อ คือ “การตัดสินใจไปเรียนภาษาอังกฤษที่อินเดีย” และ “ชีวิต 6 เดือน ณ มุมไบ” ปรากฏว่าได้รับตอบรับอย่างดีมาก มีผู้ปกครองและน้องๆ สอบถามเข้ามากันมาก ทำเอาผู้เขียนปลื้มมากๆ วันนี้เลยจะมาแชร์ประสบการณ์ของชีวิตนักศึกษาปริญญาโทต่างแดนในเมืองแขกให้ได้อ่านกันค่ะ
ใช่ค่ะ! .. ตอนนี้นอกจากเกมจะมีหน้าที่ดูแลและประสานงานให้น้องๆ ที่เดินทางมาเรียนภาษาอังกฤษที่อินเดีย หรือเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัยทั้งปริญญาตรีและโท ณ เมืองบังกาลอร์แล้ว หน้าที่สำคัญอีกประการหนึ่งของเกมคือ การมาเรียนต่อปริญญาโท ซึ่งตอนนี้ผ่านพ้นไปแล้ว 1 เทอม แล้วก้าวเข้าสู่เทอมที่ 2 ของชีวิตนักศึกษาปริญญาโท สาขาสื่อสารมวลชน หรือ Mass Communication ที่มหาวิทยาลัย Jain University ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่ได้รับการจัดให้เป็นมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดอันดับ 2 ของรัฐ และเป็นอันดับที่ 21 ของประเทศ (อินเดียมีร่วม 800 มหาวิทยาลัย) ซึ่งตอนนี้ทุกอย่างเริ่มลงตัวแล้วค่ะ .. ก่อนอื่นต้องขอแนะนำให้ทุกคนได้รู้จักเมืองบังกาลอร์แบบคร่าวๆกันสักนิ ด
บังกาลอร์ (Bangalore) หรือ เบงกาลูรู (Bengaluru) เป็นเมืองหลวงของรัฐคันนาตากะ (Karnataka) ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย หลายๆคนอาจเคยได้ยินสมญานามที่เรียก บังกาลอร์ ว่าเป็น "Sillicon Valley of India" ซึ่งมีความหมายว่าเปรียบบังกาลอร์เป็นแหล่งรวมอุตสาหกรรมด้านไอทีและซอฟแวร์ของประเทศ บริษัทด้าน IT ยักษ์ใหญ่ของโลกเช่น IBM ก็มีสำนักงานใหญ่ของภูมิภาคเอเชียอยู่ที่นี่ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ ยังถือว่าบังกาลอร์เป็นเมืองศูนย์กลางทางก
ารศึกษาของอินเดียใต้ มีมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงมากมาย เช่น มหาวิทยาลัยบังกาลอร์ (Bangalore University) ซึ่งเป็นสถาบันที่ผลิตบุคคลากรที่มีความสามารถทั้งด้านเทคโนโลยี ด้านบริหารธุรกิจ ด้านเศรษฐศาสตร์และสังคมศาสตร์โดยเฉพาะ และยังเป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา นอกจากนั้น บังกาลอร์ยังได้ชื่อว่าเป็น “The Garden City” ด้วยเหตุที่ว่า บังกาลอร์ เป็นเมืองที่มีต้นไม้ใหญ่เป็นจำนวนมาก และมีสวนสาธารณะแทรกอยู่เกือบทุกแห่งในเมือง มีความร่มรื่นเขียวขจีของต้นไม้ตลอดสองข้างทางของเมือง จึงทำให้เมืองนี้อากาศค่อนข้างดีตลอดทั้งปีเลยค่ะ
หลายคนมักถามว่าบังกาลอร์เจริญมั๊ย สกปรกรึป่าว .. ต้องขอบอกว่า บังกาลอร์ดีกว่าหลายเมืองในอินเดียแบบมากๆค่ะ นั่นคือ ย่านกลางเมืองของบังกาลอร์ก็มีรถไฟฟ้าคล้าย BTS บ้านเรา ถึงแม้เส้นทางจะยังไม่ครอบคลุมทั้งบังกาลอร์ซะทีเดียว เพราะบังกาลอร์ใหญ่มากๆ แต่ก็มีการสร้างเพิ่มอยู่ตลอด มีห้างสรรพสินค้า มีร้านค้าขายของแบรนด์เนมที่ราคาถูกกว่าเมืองไทยค่อนข้างมาก มีกาแฟ Starbuck และร้านขายอาหาร Fast food มากมายหลายยี่ห้อคล้ายๆบ้านเรา ร้านอาหารไทยก็มีอยู่บ้าง และมีร้านอาหารจีน อาหารเกาหลี และอาหารอาหรับเพียบเลยและอร่อยด้วยค่ะ ส่วนความสกปรก ก็น่าจะเป็นเรื่องธรรมดาของประเทศที่มีประชากรหนาแน่นและเยอะมากๆอย่างอินเดีย ย่านที่เจริญก็ดูดีดูไม่ต่างจากบ้านเรา ย่านไหนที่อยู่กันอย่างแออัดหนาแน่นก็จะดูสกปรกค่ะ .. ตอนนี้น้องๆ และคุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครอง น่าจะเริ่มเห็นภาพเมืองบังกาลอร์กันคร่าวๆแล้วนะคะ
การกลับมาอินเดียครั้งนี้ไม่มีความรู้สึกตื่นเต้นมากแล้วคะ แต่กลับกลายเป็นความ “กลัว” ถามว่าทำไมถึงกลัว? หรือ กลัวอะไร? คำตอบคงเป็นเพราะคราวนี้กลับมาพร้อมกับภาระกิจที่ยิ่งใหญ่ คือต้องมาคว้าใบปริญญาโ
ท กลับไปให้ได้ แค่คิดก็สะพรึงแล้วกับการที่ต้องเรียนจริงจังเป็นภาษาอังกฤษ วันแรกของการเปิดภาคเรียน ตื่นเต้นมากกกกก จำได้เลยว่าเช้าวันแรก “เจ๊ตั้ม” หนึ่งในทีมงาน WES ซึ่งเป็นพี่สาวแท้ๆ ขี่รถไปส่งที่มหาวิทยาลัยและเดินขึ้นตึกไปส่งถึงหน้าห้องเรียนเลยค่ะ ให้ความรู้สึกเหมือนเป็นเด็กเล็กเลย มีผู้ปกครองมาส่งถึงห้องเรียน ^_^ พอเข้าไปในคลาสเรียนเพื่อนอินเดียแต่ละคนพูดกันหลากหลายภาษา เพราะแต่ละรัฐของอินเดียก็จะมีภาษาประจำรัฐ ภาษากลางหรือภาษาราชการคือ ภาษาฮินดี (Hindi) และภาษาอังกฤษค่ะ ส่วนบังกาลอร์อยู่ในรัฐ Karnataka ภาษาประจำรัฐคือภาษา Kannada แต่คนในบางรัฐที่ไม่นับถือศาสนาฮินดู ก็จะไม่พูด Hindi ดังนั้นภาษาราชการที่ใช้อย่างแพร่หลายจึงเป็นภาษาอังกฤษค่ะ แล้วพออาจารย์เดินเข้ามาทุกคนจะเปลี่ยนเป็นพูดภาษาอังกฤษกัน .. เดือนแรกเกมเหมือนคนหูดับอีกครั้ง ทั้งๆที่เทคคอร์สภาษาอังกฤษมาจากมุมไบแล้วครึ่งปี และก่อนเปิดเทอมก็เทคเพิ่มที่บังกาลอร์อีกเดือนกว่า แต่เพราะอาจารย์พูดเร็วมากๆ และเนื้อหาในการสอนและวิธีการสอนก็แตกต่างจากบ้านเรามากๆ สาขาที่เกมเรียนไม่มีหนังสือหรือชีทแจกเหมือนเมืองไทย ไม่มีรายชื่อหนังสือบอกว่าควรอ่านเล่มไหน ให้ไปหาซื้ออะไรมาอ่าน เราต้องจดเลคเชอร์ตามที่อาจารย์พูด ตามไม่ทัน นึกศัพท์ไม่ออกก็ลอกเลยคะ ลอกเพื่อนข้างๆ กลับบ้านก็เปิดคอมพ์เสิร์ทเน็ตกันจ้าละหวั่น แต่นั่นยังไม่ทำให้ตะลึงและอึ้งได้เท่ากับเวลาที่อาจารย์ถาม ทุกคนแย่งกันตอบ
ยกมือกันเร็วมาก ไม่มีอาย ไม่มีกลัวผิดเลย ยอมรับว่าไม่เคยเจอบรรยากาศการเรียนแบบนี้ที่เมืองไทยเลยจริงๆ และเมื่อเทศกาลสอบมาถึงเกมอยากขอเป็นลมสักรอบนึงเลยทีเดียว คำถามมีแค่ 5 ข้อ แต่ให้กระดาษคำตอบมาเกือบ 20 แผ่น 40 หน้า เยอะมากกกกก (แอบคิดว่าให้เขียนเยอะขนาดนี้คือต้องการให้เขียนที่สอนต้องแต่ต้นเทอมเลยรึป่าว ฮ่าๆๆ) แต่เพื่อนๆส่วนใหญ่ก็ยังขอกระดาษคำตอบเพิ่ม แอบคิดว่าเอาที่เกมไหม กระดาษเหลือเพียบเชียวววว (^_^”) ... พอผลสอบออก เกมตรงดิ่งหาอาจารย์ถามเลยค่ะ ถามเรื่องคะแนนอันจุ๋มจิ๋มน่ารักที่ได้มา แกบอกว่า ต้องเขียนเยอะๆ เพราะเราเขียนน้อยเกินไป ก็เขียนไปตั้ง 12 หน้าแล้วนะ หมดไส้หมดพุงแล้ว แต่มันยังไม่พอ (T_T) .... แต่ไม่เป็นไรค่ะ ตอนนี้ทุกอย่างก็ผ่านไปได้ด้วยดีแล้ว รู้แนวการเรียน รู้แนวข้อสอบ รู้วิธีการตอบข้อสอบแล้ว ยังไงก็สู้ต่อ แต่ถ้าถามว่าท้อไหม? ร้องไห้ไหม? แน่นอนค่ะ เคยถอดใจและท้อมากๆ แต่เชื่อว่าทุกอย่างย่อมมีอุปสรรคเข้ามาทดสอบ ถ้าเราผ่านไปได้เราก็จะเก่งและแข็งแรงขึ้นแน่นอน .. จิรัสสาสู้ตาย เย้! \\(^_^)// และทุกๆอย่างที่เจอมาทำให้ได้รู้ถึงคำว่า “เวลาและความพยายามจะช่วยให้ทุกอย่างดีขึ้นจริงๆ”